วันเสาร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2554

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15 วันที่ 27/09/2554

สรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการเรียนวิทยาศาสตร์

- หลักการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์
- การสอนเเบบโครงการ
- ความหมายวิทยาศาสตร์
- สื่อวิทยาศาสตร์
- ทักษะทางวิทยาศาตร์
- ของเล่นวิทยาศาสตร์
- การเขียนเเผนการจัดการเรียนการสอนทางวิทยาศาตร์
- การทำโครงการทางวิทยาศาตร์
- การจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์
- การจัดนิทรรศการ
- การประเมินทางวิทยาศาตร์ : การสังเกต , สนทนา / ซักถาม , ผลงาน

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14 วันที่ 20/09/2554

อาจารย์ตรวจดู Blogger ของนักศึกษาเเต่ละคน เเละให้ไปเเก้ไข / เพิ่มเติม Blogger ของตัวเอง ให้เรียบร้อย

กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 6 ทักษะ

1. ทักษะการสังเกต
2. ทักษะการจำเเนก
3. ทักษะการเเสดงปริมาณ
4. ทักษะการสื่อความหมาย
5. ทักษะการเเสดงความคิดเห็น
6. ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างมิติกับเวลา

วัตถุประสงค์

- บอกชื่อ เช่น บอกชื่อของปลาได้
- บอกลักษณะ เช่น บอกลักษณะของปลาได้
- บอกส่วนประกอบ เช่น บอกส่วนประกอบของปลาได้

สาระสำคัญ

- เรื่องที่เราจะสอน เช่น ลักษณะของปลา [ ตัวใหญ่ ตัวเล็ก ]

การจัดกิจกรรม

ขั้นนำ : คำคล้องจอง , นิทาน , ปริสนาคำทาย

ขั้นทำกิจกรรม : กิจกรรมที่ครูเตรียมไว้

ขั้นสรุป : สนทนา / ซักถาม

อาจารย์ให้เเบบฟอร์มการเขียนเเผน ไปปรับเเก้เเผนมาใหม่ นำมาส่งในสัปดาห์ต่อไป

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13 วันที่ 09/02/2554

วันนี้อาจารย์สอนเขียนเเผนวิทยาศาสตร์

สาระการเรียนรู้

- สิ่งที่อยู่รอบตัว
- เรื่องราวที่เกี่ยวกับตัวเด็ก
- บุคคลเเละสถานที่
- ธรรมชาติ

ประสบการณ์สำคัญ

- ร่างกาย
- สังคม
- อารมณ์ - จิตใจ
- สติปัญญา
- ภาษา

ทักษะทางวิทยาศาสตร์

- การสังเกต
- การจำเเนก
- การวัด
- การสื่อความหมาย
- การคำนวณ

อาจารย์ได้มอบหมายงานกลุ่ม คือ การเขียนเเผนการจัดการเรียนการสอนทางวิทยาศาสตร์

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12 วันที่ 30/08/2554

วันนี้ส่งงานการทำโครงการ
อาจารย์ให้ดุซีดีเรื่องมหัศจรรย์ของน้ำ: ความรู้ที่ได้วันนี้
น้ำ เป็นส่วนประกอบของร่างกาย อากาศมีความเกี่ยวข้องกับร่างกายเพราะเนื่องจากอากาศร้อนมากทำให้ร่างกายเสียเหงื่อมากดังนั้นเราควรดื่มน้ำวันละ 7-8 แก้วต่อวัน
สิ่งมีชีวิตต่า ๆ ในโลกมีส่วนประกอบของน้ำหรือไม่

วิธีการทดลอง
1.หาผลไม้พืชผักต่าง ๆ เช่น แอปเปิ้ล แครอท
2.นำมีดมาหันผลไม้เป้นชิ้นเล็ก ๆ แล้วใช้เครื่องบดให้ละเอียด
3.แล้วลองบีบดูจะเห็นว่าน้ำออกมาจากผลไม้
จะเห็นได้ว่า น้ำจะมีส่วนประกอบในสิ่งมีชีวิต ร่างกายของมนุษย์มีน้ำเป็นส่วนประกอบอยู่ 70 % ผักและผลไม้มีน้ำเป็นส่วนประกอบ 90 % ดังนั้นถ้าคนขาดน้ำจะทำให้รางกายอ่อนเพลีย
ฝนตกจะเกิดจากอะไร

คุณสมบัติของน้ำมี 3 ประการ คือ
1.ของแข็งคือ น้ำแข็ง
2.ของเหลวคือ น้ำที่เราดื่มและใช้อาบทุกวัน
3.ก๊าซคือ ไอน้ำ
น้ำสามารถเปลี่ยนสถานะจากของแข็งกลายเป็นของเหลว จากของเหลวกลายเป็นไอ จากไอกลายเป็นของเหลว

วิธีการทดลองการเปลี่ยนสถานะของน้ำ
1.เริ่มแรกต้มน้ำแข็งให้เดือด น้ำแข็งจะละลายกลายเป็นของเหลว
2.ต้มต่อไปจนมีไอขึ้นมา จากนั้นก็เอาจานใส่น้ำแข็งมาวางไว้บนน้ำที่เราต้มระยะห่างพอสมควร
จะเห็นได้ว่าการเกิดฝนมีลักษณะเหมือนกับการทดลอง ฝนก็คือไอน้ำที่เระเหยขึ้นไปบนอากาศ รวมตัวกันกลายเป็นก้อนเมฆและตกลงมาเป็นฝนสู่พื้นดิน
แอ่งน้ำที่เกิดขึ้นหลังฝนตกแห้งได้อย่างไร

วิธีการทดลอง
1.นำน้ำที่มีปริมาตรเท่ากัน 2 แก้ว
2.แก้วที่ 1 เทลงใส่จาน
แก้วที่ 2 เทลงใส่จาน
3.นำไปตากแดดจะเห็นว่าน้ำในจานแห้งเกือบหมด แต่ในแก้วลดลงนิดเดียว
ดังนั้นแอ่งน้ำที่เกิดขึ้นเมื่อหลังฝนตกจะแห้งไปเมื่อโดนความร้อนของแสงแดด
ธรรมชาติของน้ำ
เมื่อนำกลายเป็นน้ำแข็งจะขยายตัว 12 %

วิธีการทดลอง
1.นำน้ำใส่ลงในแก้วไม่ต้องเต็ม เอากระดาษปิดไว้
2.เมื่อนำไปแช่ในตู้เย็นจะเห็นว่ากลายเป้นน้ำแข็งเต็มแก้วเพราะน้ำแข็งมีโมเลกุลน้อยกว่าน้ำหรือน้ำมีโมเลกุลหนาแน่นกว่าน้ำแข็ง
แรงดันของน้ำ

วิธีการทดลอง
1.เจาะรูที่ขวด 3 รูระดับไม่เท่ากันแล้วเอาเทปกาวแปะไว้
2.จากนั้นเอาน้ำใส่ให้เต็มขวด แล้วเปิดรูที่เจาะไว้ จะเห็นได้ว่าน้ำจากรูด้านล่างจะพุ่งแรงสุดเนื่องจากความกดดันของน้ำด้านบนกดลงมา
จากการทดลอง น้ำที่อยู่ด้านล่างจะถูกกดดันจากน้ำด้านบน ถ้าเราอยู่ในน้ำที่ลึกมากความกดดันจะยิ่งมากขึ้น

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11 วันที่ 30/08/2554

อาจารย์พูดเรื่อง แกนทิชชูที่เหลือใช้ว่าสามารถนำมาประดิษฐ์เป็นสิ่งของใหม่ได้อีกดังนี้

แกนทิชชู
1. การแก้ปัญหา คือ
- อย่าใช้เยอะ นำมาใช้ใหม่

2. เป็นวิทยาศาสตร์ คือ
- เป็นสิ่งที่อยู่รอบตัว ผลิตจากธรรมชาติ มีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต ทำให้เกิดพลังงาน

3. ประโยชน์ คือ
นำมาประยุกต์ใช้ใหม่ ขายได้ราคา
-
อาจารย์ได้สั่งงานให้ทำของเล่นวิทยาศาสตร์จากแกนทิชชูมา 1 อย่างต่อ 2 คน และได้สอนเรื่องการสอนแบบโครงการว่ามีการจัดการเรียนการสอนแบบโครงการให้กับเด็กอย่างไรบ้าง ซึ่งการสอนแบบโครงการมีวิธีการสอน ดังนี้
1. เริ่มโครงการ => - เลือกหัวเรื่อง
- อยากรู้เลื่อกอะไร โดยการใช้คำถามแล้วได้คำตอบมา
- ทำอย่างไร
- ทบทวนประสบการณ์เดิม
2. ดำเนินการ => ดำเนินการลงมือปฏิบัติตามที่ได้วางไว้และเก็บร่องรอยหรือถ่ายรูปเก็บไว้
3. สรุป => จากการที่ได้เรียนได้ไปดูมานำมาแสดงผลงานหรือจัดนิทรรศการ

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10 วันที่ 23/08/2554



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9 วันที่ 16/08/2554

วันนี้ได้ศึกษาจากวิดีโอเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์เรื่องความลับของแสง
ความลับของแสง

"ฝนตกหนักมองอะไรข้างนอกไม่เห็น ไฟดับก็จะไม่มีแสงสว่างซึ่งแสงสว่างเกี่ยวข้องกับการมองเห็น ถ้ารอบๆตัวเราไม่มีแสงสว่างก็จะทำให้เรามองไม่เห็น"
แสงสว่างเป็นคลื่นชนิดหนึ่ง แสงเคลื่อนที่ด้วยความเร็วมาก 300,000 กิโลเมตร/วินาที แสงจะช่วยเราในการมองเห็นได้

วิธีการทดลองการเดินทางของแสง
1.นำกล่องเจาะรูตรงกลาง นำตุ๊กตาใส่ลงในกล่องแล้วปิดฝา ถ้าเรามองไปเราก็จะไม่เห็นอะไรเลย
2.คราวนี้เอาฝากล่องออกเราก็จะมองเห็นตุ๊กตา
3.เจาะรูอีกรู เอาไฟฉายส่องเขาไปเราก็จะมองเห็นวัตถุ

-ที่เรามองเห็นวัตถุต่างๆรอบๆตัวได้ คือ แสงลงมาส่องวัตถุแล้วแสงของวัตถุก็จะสะท้อนเข้ามาในตาของเราทำให้เรามองเห็นวัตถุต่างๆได้
-แสงพุ่งเข้ามาหาเรา จะเคลื่อนที่ในลักษณะเป็นเส้นตรงและไม่มีทางเปลี่ยนทิศทางได้

คุณสมบัติของแสงมี 3 ประการคือ วัตถุที่แสงส่องผ่านได้และไม่ได้หรือเรียกว่า
1.วัตถุโปร่งแสง แสงทะลุผ่านวัตถุได้บางชนิดเท่านั้น เช่น กระจกมัวๆ
2.วัตถุโปร่งใส เช่น กระจกใส พลาสติกใส
3.วัตถุทึบแสง จะดูดกลืนแสงไว้ เช่น ไม้ หิน เหล็ก แม้กระทั่งตัวเรา

ประโยชน์ของแสง
1.การเคลื่อนที่ของแสงสามารถทำให้เกิดกล้องฉายภาพ

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8 วันที่ 04/01/2554

ไก่แก้ว ต๊อก ต๊อก ต๊อก





งานประดิษฐ์ไก่แก้ว

วัสดุอุปกรณ์


1. แก้ว


2. รูปไก่


3. เชือก


4. ไม่เสียบลูกชิ้น



วิธีทำ


1. ตัดกระดาษรูปไก่ ระบายสีให้สวยงาม


2. ติดลงบนแก้ว


3. เจาะรูตรงกลางของแก้ว ร้อยเชือกแล้วมัดปมด้วยไม้เสียบลูกชิ้น


4. มัดปมตรงปลาย


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7 วันที่ 02/08/2554

อาจารย์ให้ส่งงานโครงการลดละ เลิก เหล้า บุหรี่ และสิ่งเสพติด , ตาราง 4 แผ่น , งานกลุ่มการเดินทางของแสง , ของเล่นวิทยาศสตร์

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6 วันที่ 26/07/ 2554

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

- ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นทักษะที่ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัย สามารถคิอเหตุผลแสวงหาความรู้ สามารถแก้ปัญหาได้ตามวัยของเด็ก

1. ความหมายทักษะการสังเกต

- ทักษะการสังเกต หมายถึง การใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกันได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้นและผิวกาย

2. ความหมายทักษะการจำแนกประเภท

- ทักษะการจำแนกประเภท หมายถึง ความสามารถในการแบ่งประเถท

1. ความเหมือน
2. ความแตกต่าง
3. ความสัมพันธ์รวม

3. ความหมายทักษะการวัด

- ทักษะการวัด หมายถึง การใช้เครื่องมือต่างๆวัดหาปริมาณของสิ่งที่ต้องการทราบได้อย่างถูกต้องโดยมีหน่วยการวัดกำกับ

1. รู้จักกับสิ่งของที่จะวัด
2. การเลือกเครื่องมือที่จะนำไปใช้วัด
3. วิธีการที่เราจะวัด

4. ความหมายทักษะการสื่อความหมาย

- ทักษะการสื่อความหมาย หมายถึง การพูด การเขียน รูปภาพและภาษาท่าทาง และการแสดงสีหน้าความสามารถรับข้อมูลได้อย่างถูกต้องและชัดเจน

1. บรรยายลักษณะคุณสมบัติของวัตถุ
2. บันทึกการเปลี่ยนแปลงของวัตถุได้
3. บอกความสัมพันธ์ของข้อมูลที่ได้จัดกระทำ

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5 วันที่ 19/07/2554

อาจารย์ได้จะจัดโครงการ ลด ละ เลิก สิ่งเสพติด โดยมีกิจกรรมดังนี้
1. เดินรณรงค์ โดยร้องเพลง ลด ละ เลิกสิ่งเสพ โดยมีเนื้อเพลงว่า
มา มา มา พวกเรามาลด เลิก เล่า เบียร์ (ซ้ำ)
บุหรี และ สิ่งเสพติด (ซ้ำ) เพื่อตัวเราและเพื่อในหลวง

2. เขียนไปรษณ๊ยบัตรแล้วส่งไปให้คนที่เรารู้จัก

3. กิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับโทษของสิ่งเสพติด กลุ่มของข้าพเจ้าทำเรื่อง "สิ่งเสพติดที่มีโทษต่อปอด"

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4 วันที่ 12/072554

วันนี้อาจารย์ให้กลุ่มที่ยังไม่ได้นำเสนองานออกมานำเสนองานกลุ่มของตัวเอง

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3 05/06/2554

วันนี้อาจารย์ให้ออกมานำเสนองาน
เเนวคิดนักการศึกษาทาง

- หลักการการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร

- กิจกรรมทางวิทยาศาสตร์

- ของเล่นทางวิทยาศาตร์

- ตัวอย่างสื่อทางวิทยาศาสตร์



- หลังจากที่นำเสนอเสร็จ อาจารย์ก็ได้พูดถึงข้อบกพร่องของเเต่ละกลุ่ม เเละให้เเต่ละกลุ่มกลับไปปรับปรุงเเก้ไขใหม่

ครั้งที่ 2 วันที่ 28/06/2554

วันนี้อาจารย์ให้ฟัง เพลงไอน้ำ อาจารย์ก็ถามว่า ?

เพลงไอน้ำให้ความรู้อะไรบ้าง
- เมื่อดวงอาทิตย์ส่องแสงลงในน้ำแล้วทำให้น้ำเกิดการระเหยกลายเป็นไอน้ำ
- น้ำมีการเปลี่ยนแปลงจากของเหลวกลายเป็นไอ
- ความร้อนของแสงอาทิตย์ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปล

2. เพลงไอน้ำเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์อย่างไร
- สามารถพิสูจน์ได้
- แสงอาติย์ทำให้น้ำกลายเป็นไอ
3.นำไปใช้ในการจัดประสบการณ์ให้กับเด็กได้อย่างไรบ้าง
- นำเพลงมาเป็นสื่อในการสอน

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 1 วันที่21/06/2554

วันนี้อาจารย์ได้ชี้เเนะเเนวการสอน เเละอธิบายการสร้างบล็อกว่าควรมี
องค์ประกอบอะไรบ้าง ดังนี้
1. ชื่อเเละคำอธิบายบล็อก
2. รูปเเละข้อมูลนักเรียน
3. ปฏิทินเเละนาฬิกา
4. เชื่อมโยงบล็อกกับอาจารย์ผู้สอน หน่วยงานที่สนับสุนน เเนวการสอน
บทความ งานวิจัย สื่อ [ เพลง เกม นิทาน ]